*_*  ฮีต 12ประเพณี 12 เดือน ของชาวอีสาน  ^_^
    จังหวัดขอนแก่น เค้าว่าเป็นเมืองหลวงของภาคอีสานเชียวนะ ถ้าอยากรู้รายละเอียดอ่านดูได้เลย 
ฮีตสิบสอง
ฮีตที่ 1
"ให้พระสงฆ์เจ้าเข้ากรรมทุกวัดวาอาราม" กระทำกันในเดือนอ้าย หรือเดือน
หนึ่ง จึงเรียกว่าฮีตที่ 1 ดังคำกลอนที่กล่าวไว้ว่า"
ฮีตหนึ่งนั้น    เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้า กลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สงฆเจ้า 
                     ก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหากธรรมเนียมนี้ ถือมาตั้งแต่ก่อน
                     อย่าได้ละห่างเว้น เข็นสิข้องแล่นนำ แท้แล้ว
      การเข้ากรรมของสงฆ์ หมายถึง การเข้าบริวาสกรรม ในวินัยสงฆ์ได้
บัญญัติไว้ว่า ภิกษุใดต้องอาบัติสงฆาทิเสส เช่น จับต้องกายหญิงด้วยความ
กำหนัด เป็นต้น จะพ้นจากอาบัติได้ก็ต้องอยู่บริวาสกรรม คือ เข้ากรรม
     ลักษณะการเข้ากรรม มิใช่ การล้างบาป แต่เป็นการให้สงฆ์ผู้ต้องอาบัติ
สำนึกผิดและสารภาพต่อหน้าสงฆ์ เป็นการรู้สึกสำนึกด้วยตนเอง ไม่มีใคร
บังคับแล้วจะสำรวมไม่กระทำผิดอีกต่อไป ภิกษุใดปกปิดอาบัติสงฆาทิเสส
จะไม่เป็นภิกษุ โดยสมบูรณ์ เป็นภิกษุแต่ในนามเท่านั้น จะทำสังฆกรรม
อะไรก็ไม่ขึ้น

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 2
"ให้เก็บหลัวเก็บพื้นมาไว้" กระทำกันในเดือนยี่ คือเดือนสอง จึงเรียกว่า 
ฮีตที่  2 ในเดือนยี่ เป็นเวลาที่อากาศกำลังหนาว ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม ตื่น
เช้าชาวบ้านจะต้องลุกแต่เช้านึ่งข้าว และก่อกองไฟไว้ให้สมาชิกครอบครัวได้
ผิงไฟ ไล่ความหนาวเหน็บ จำเป็นจะต้องหาหลักและฟืนไว้ตั้งแต่ตอนกลาง
วัน ถ้าจะไปหาตอนเช้าก็คงจะเสียเวลาหรือหนาวตายเสียก่อน ฉะนั้นถ้าเราเดิน
เข้าไปในหมู่บ้านอีสานจะพบว่า ใต้ถุนบ้านบางส่วนจะเต็มไปด้วยไม้ไผ่ผุๆ
ซึ่งเรียกว่า "หลัว" และท่อนไม้แก่นขนาดเท่าขา เรียกว่า "ฟืน" กองเรียงราย
กันเต็มไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้คำกลอนกล่าวไว้ว่า"
ฮีตสองนั้น   พอแต่เดือนยี่ได้ล่วงล้ำมาถึง ให้พากันหาฟืนสู่คนโอมไว้
                    อย่าได้ ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า
                   ข้าวและของหมู่นั้น สีหายเสี่ยงบ่ยัง
                  จงให้ฟังคองนี้ แนวกลอนเฮาบอก
                  อย่าเอา ใดออกแท้ เข็นฮ้ายสิแล่นเถิง เจ้าเอย
     นอกจากประเพณีการเก็บหลักและฟืนดังกล่าวแล้ว ยังมีการทำบุญสำคัญ
อีกคือ "บุญคูณลาน" บางหมู่บ้านนิยมทำบุญกุ้มข้าวใหญ่ "บุญคูณลาน"
ได้แก่การทำบุญโดยวิธีนิมนต์ภิกษุสงฆ์ไปสวดมนต์ฉันภัตตาหารที่ลานนวด
ข้าวตอนจะขนข้าวขึ้นบ้าน บางแห่งเรียกทำบุญลาน การทำบุญลานหรือทำ
บุญคูณลานนี้ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล ไม่ได้ทำทุกคน ส่วนการทำ
บุญกุ้มข้าวใหญ่นั้นก็คือ การที่ชาวบ้าน นำข้าวของตนคนละเล็กละน้อยไป
กองรวมกันไว้ที่ศาลากลางบ้านจนเป็นกุ้ม(กอง)ใหญ่ แล้วทำบุญถวายทาน
ตามปกติแล้วพากันมอบถวายข้าวเปลือกแก่สงฆ์ แล้วแต่สงฆ์จะจัดการอย่าง
ใดเท่าที่สมควร ไม่ขัดต่อสมณวิสัย

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 3
"ให้ป่าวเตินกันทำบุญข้าวจี่" ในเดือนสาม วันเพ็ญเดือนสาม ตรงกับวัน
มาฆบูชา ตอนเช้าชาวบ้านจะจัดแจงทำข้าวจี่ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ตอน
กลางคืนจะกระทำพิธีมาฆบูชา
"ข้าวจี่" คือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ปั้นให้ติดกันสนิท ทาด้วยเกลือ หรือ ทั้งเกลือ
และไข่ ปิ้งไฟ ใส้ในจะใส่น้ำอ้อยหรือน้ำตาลก็ได้ ชาวบ้านนิยมลงปิ้งข้าวจี่
รวมกัน ดังคำกลอนที่ว่า
ฮีตสามนั้น   เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่
                   ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ
                   กุศลสินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ
                   หากธรรมเนียมจั่งสี้มีแท้แต่นาน

 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 4
"ให้ทำบุญผเวส" บุญ "ผเวส" คือบุญที่ทำเกี่ยวกับพระเวสสันดร ก็คือ
"บุญมหาชาติ" นั้นเอง นิยมทำกันในเดือน 4 จึงเรียกกันว่า บุญเดือนสี่
การทำบุญผเวส เป็นการทำบุญที่เนื่องด้วยการรำลึกถึงอดีตชาติคือชาติสุดท้าย
ของพระพุทธเจ้า ที่ได้เกิดมาเป็นพระเวสสันดรเจือปนผสมผสานไปกับการ
ละเล่นพื้นบ้าน ชาวอีสานจะกำหนดการทำบุญนี้ 2 วัน คือวันรวมกับวันเทศน์
       พอถึงกำหนดเป็นวันรวมฝ่ายหญิงก็จะจัดบ้านเรือนทำข้าวปุ้น(ขนมจีน)
เตรียมของหวานตลอดจนหมากพลูบุหรี่และที่หลับที่นอนเอาไว้ต้อนรับแขก
บ้านไกล ส่วนผู้ชายก็จะพากันไปที่วัดเตรียมทำที่พระอุปคุต เตรียมธงทิวปัก
ไว้รอบวัด เตรียมประดับประดาธรรมาสน์ พระสงฆ์ก็จะเตรียมต้อนรับภิกษุ
สามเณรจากวัดอื่น จะต้องมาพักแรมเพื่อร่วมเทศน์ในวันรุ่งขึ้น
      การเทศน์จะแบ่งเป็นกัณฑ์ๆ ประมาณ 30 - 40 กัณฑ์ มีความเชื่อกันว่า
หากผู้ใดฟันเทศน์ได้ครบทุกกัณฑ์ภายในวันเดียว จะได้ไปเกิดในชาติเดียว
กับพระศรีอารยเมตไตร และจะสำเร็จอรหันตผล เป็นพุทธสาวกพระศรีอารย์
ดังนั้นชาวอีสานจึงถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งว่า พอถึงเดือนสี่จะต้องมีการจัด
ให้มี เทศน์มหาชาติ ดังคำกลอนที่ว่า
ฮีตสี่     พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้
            อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
            หาเอาตากแดดไว้ให้ทำแท้ซู่คน แท้ดาย
            เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่
            เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี
      จะอย่างไรก็ตาม บุญมหาชาตินี้ นิยมทำกันเดือนสี่แต่บางทีอาจจะล่น
เวลาได้แล้วแต่ชาวบ้านในแต่ละถิ่น 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 5
"ให้เตรียมน้ำอบน้ำหอมไว้หดสรงพระเจ้าพระสงฆ์" ในเดือนห้านี้ ชาวบ้าน
อีสานนิยมทำบุญสรงพระ เรียกว่าบุญสงกรานต์ ชาวอีสานสนุกสนานกันมาก
ชาวบ้านจะเตรียมน้ำหอมไว้สรงพระพุทธรูปตามวัดวาอารามต่างๆ และสรง
เครื่องค้ำของคูณ เช่นเขี้ยว ขอ นอ งา หิ้งพระของแต่ละบ้าน
วันที่ 13 เมษายน เป็นวันแรกของการเริ่มงาน เรียกวันสังขารล่วง
วันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่สอง ที่ทุกคนจะทำบุญอุทิศ เรียกวันสังขารเน่า
วันที่ 15 เมษายน เป็นวันที่สาม ทุกคนทำบุญตักบาตรแล้วสรงน้ำพระภิกษุ
            สงฆ์ ตลอดจนสรงน้ำผู้หลักผู้ใหญ่เรียกวันนี้ว่าวันสังขารขึ้น
       การทำบุญสงกรานต์ จะพากันหยุดประกอบกิจการงานหมดทั้งหมู่บ้าน 
มุ่งหน้าสู่วัดวาอารามเพื่อทำบุญกุศล ดังคำกลอนที่ว่า
ฮีตห้านั้น    พอเถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ชาวเมืองจงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป
                  ให้ทำทุกวัดแท้อย่าไล้ม้างห่างเสีย ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า
                  ทุกทั่วทีปแผ่นหญ้าให้ทำแท้ซู่คน จั่งสีสุขล้นทำถืกคำสอน
                  ถือฮีตครองควรถือ แต่ปางปฐมพุ้น

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 6
เป็นฮีตที่จัดทำกันในเดือนหก ซึ่งมีเทศกาลสำคัญในเดือนนี้อยู่หลายอย่าง
ที่เดียว แต่ลักษณะของฮีตจะเน้นเรื่องการทำบุญเป็นใหญ่ พอถึงฤดเดือนหก
ชาวบ้านจะเตรียมการทำบุญบวชนาค บุญกองฮด(บุญสรงน้ำพระ) ดังคำกลอนที่ว่า
ฮีตหกนั้น   พอเมื่อเดือนหกแล้ว ให้นำข้าววารีสรงโสด
                 ผัดพระพุทธรูป เหนือใต้สู่ภาย
                 อย่าได้ละเมี่ยงม้าย ปัดป่ายหายหยุด
                 มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า
เนื่องจากเดือนหกเป็นเทศกาลสำคัญดังกล่าวแล้วที่โด่งดังเป็นที่กล่าวขวัญกัน
โดยทั่วไปก็คือ "บุญบั้งไฟ" หรือคนอีสานเรียกกันติดปากว่า "บุญเดือนหก"
"บั้งไฟ" ได้แก่ท่อนไม้ไผ่ที่ทะลวงข้อแล้วอัดด้วยดินปืนให้แน่นปิดด้วยเถือด
เจาะรูตรงกลาง ตวงดินประสิวให้ทะลุหรือเกือบทะลุ ประกอบลูกใส่หาง ได้
ชนวนหรือหลอดแล้วจุด บั้งไฟก็จะลอยขึ้นฟ้า
 เกี่ยวกับดินประสิวนี้ชาวบ้านจะเรียกติดปากว่า "หมื่อถ่านสาม" คำว่า "หมื่อ"
หมายถึงดินประสิวที่ผสมกับถ่านแล้วตำละเอียดใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

 
 
 
 
 
 
 
 

 

ฮีตที่ 7
"ให้ทำบุญซำฮะ" คำว่า ซำฮะ หมายถึงชำระคือการทำให้สะอาด คติโบราณ
ถือว่า เมื่อใดที่บ้านเมืองเดือดร้อนข้าวยากหมากแพง เกิดทุพภิกขภัย โจรภัย
โรคภัย อื่นๆ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากเรียกว่าเกิด "บ้านเดือด" จึงให้มีการ
ชำระเสียจึงจะหายชำระนั้นเป็นการชำระด้วยพุทธปริต และพุทธมนต์ คือให้
นิมนต์พระสงฆ์สวดปริต แล้วปะพรมน้ำมนต์เสนียดจัญไรก็จะหายไป
ฮีตที่เจ็ด    พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเจ้าบูชาแท้ซู่กาย
                ตลอดไปฮอดฮ้ายอารักษ์ใหญ่มเหศักดิ์ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า
                พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สงฆ์เจ้าซำฮะ แท้สวดมนต์
                ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกัยอย่าได้ห่าง สูตรซำฮะเมืองอย่าค้าง
                สิเสียงเศร้าต่ำศูนย์ ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ มาใส่เต็มเมือง
                มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เสียเศร้า
                ให้เต้าทำตามนี้แนวเฮาสิต้านกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสรรค์ฟ้าเกิ่งกัน
บางแห่งมีการออกเรี่ยไรขี้ผึ้งมาทำเทียนถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อจุดสวดมนต์
ในช่วงเข้าพรรษา จนบางแห่งกระทำจนเป็นประเพณีแห่เทียนพรรษา
สำหรับสงฆ์ก็จะเข้าจำพรรษา ไม่ไปแรมคืนที่ไหนตลอดสามเดือน