*_* สวัสดีครับ เมืองขอนแก่น ยินดีต้อนรับ ^_^
  จังหวัดขอนแก่น เค้าว่าเป็นเมืองหลวงของภาคอีสานเชียวนะ ถ้าอยากรู้รายละเอียดอ่านดูได้เลย 
     ผญา  เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของชาวอีสาน เช่นเดียวกับ คำว่า โครง กลอน หรือกาพย์ของทางภาคกลาง หรือจะเปรียบเทียบกับคำร้อยกรองก็ได้
เพราะ ผญามีบังคับสัมผัสหลายรูปแบบ ผญา แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

                           1. ผญาคำสอน
                           2. ผญาภาษิตและปริศนา
                           3. ผญาเกี้ยวหรือผญาย่อย
                           4. ผญาเบ็ดเตล็ด
 

1. ผญาคำสอน ผญาคำสอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ใหญ่สอนเด็กหรือพระสอน
ฆราวาส เพื่อให้อยู่ในระเบียบ ประเพณีวัฒนธรรม ของสังคม เพื่อให้อยู่ในศีล
อยู่ในธรรม ผญาคำสอนจะเคร่งในเรื่องสัมผัส ต้องการให้เกิดอรรถรส เพื่อจด
จำนำไปประพฤติปฏิบัติ ตัวอย่าง

               การสิเอาเมียซ้อน               คะนิงสองให้คิดฮำ
                อย่าสิคาดลาดต้ำ                 ต้ำตึ้งแม่นฮาเอา

เป็นหญิงนี้แลงงายให้คิดฮำ          อย่าสะตำซอกพุ่น
อย่าสะตำซอกพี้                            ชาวบ้านเพิ่นสิหยัน

     
         ธรรมะ       - สูงเลิศล้ำ          ให้ทำแนทางดี
         จารึก          - มีในใจ              ใฝ่แสวงหาไว้
         สุขัง           - มีมาได้              กะย้อนใจพร้อมพรำ
          สติ            - นำสู่ให้              เป็นได้ดังจา
         ผู้ใด๋           - ใจแก่กล้า           อยากลาห่างหนีกรรม
         ประพฤติธรรม   - ทางดี         สิห่างหนีกรรมฮ้อน
         ย่อมอยู่       - สุขขาข่อน         อายุขัยในโลก
         เป็นสุข       - หายโศกฮ้อน     คือด้ามดังจา

 
2. ผญาภาษิต คือผญาที่เป็นสุภาษิตคำพังเพยหรือคำปริศนา ต้องใช้ความรู้ความ
สามารถในการตีความ ผู้ที่มีความฉลาดรอบรู้เท่านั้น  จึงจะตีความขยายคำได้
ผญาประเภทนี้จึงมีน้อยคนที่จะพูดได้ และเป็นที่หนักใจของบรรดาหนุ่มสาว
เป็นอย่างยิ่ง การอิงผู้ใหญ่จึงเป็นทางเดียวที่จะช่วยได้ โดยเฉพาะเวลาลงข่วงเข็น
ฝ้ายเวลากลางคืน เช่น

                กวางกินหมากค้อ             ไปคาคอมัง
                มังบ่ขี้สามมื้อ                    กระต่ายตาย
                กระต่ายยายแล้ว                เหนอ้มผักเน่านำ

อัศจรรย์ใจแข่                         หางยาวบ่ได้นั่ง
บาดกระต่ายหางก้อมก้อม      สั่งมาม้วนนั่งเป็น

        อัศจรรย์คนสร้าง            กฐินแฮบ่ได้แห่
       คนบ่สร้างแท้แท้             สังมาได้แห่ไป

        ฟองกะฟองมาถ่อน          ฟองตีต้ายตะฝั่ง
       อ้ายสินั่งอยู่หินก้อนล้าน    ต้นไว้บ่ให้ฟอง

      ควายบักเลเฒ่า                    ฮากหยั่งบ่ถึงดิน
     ไหลเวินไปเวินมา               หลุดบ่มีเกลือจ้ำ 

      อัศจรรย์ใจกุ้ง                    สิกุมกินปลาบึกใหญ่
      อัศจรรย์ไก่บักโจ้น            สิไปซ้นอยู่ดาว


 
3.ผญาย่อยหรือผญาเกี้ยว  คือผญาที่หนุ่มสาวใช้พูดโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ทาง
อีสานเรียกว่า จ่ายผญา  (พูดผญา) เวลามีงานเทศกาลหนุ่มสาวจะได้มีโอกาศ
พบปะพูดคุยกัน หนุ่มสาวสมัยก่อนเวลาพูดคุยกันจะไม่พูดตรงๆ เหมือนสมัย
ทุกวันนี้ เขาจะใช้คำผญาเปรียบเทียบเปรียบเปรยอุปมาอุปมัย ให้อีกฝ่ายหนึ่ง
คิดเอาหรือแปลเอาเอง เช่น

ช. พากันทำการสร้าง       หยังน้อคือสิม่วน       แท้น้อ
    ให้อ้ายขอจอดยั้ง         ฟังข้อคอความ           ได้บ้อ

ญ.น้องกะลงข่วงเล่น       เข็นไนท่าเว้าบ่าว        ซั้นแหล่ว
    คันอ้ายมาฮอดแล้ว      เชิญเคี้ยวหมากพลู      ก่อนเถิ่น 

ช. เฮาหากเทียวทางพ้อ          นำกันหลายเทือ
    น้องบ่จำจือหน้า                ผะอวนอ้ายกะเลาลืม    ซั้นแล่ว
    ใจประสงค์ต่อไม้              จังได้แบกขวานมา
    ใจประสงค์ต่อปลา            จั่ง แบกแหมาพร้อม
     คันแมนเป็นตาได้              สีสานไซมาใส่
     คันบ่เป็นท่าแล้ว                 สิแจวดั้นด่วนคืน       ซั้นแหล่ว
     อ้ายอยากถามข้าวอ้อย         ป้องห่างลำงาม         นั้นนา
     มีเครือหนาม                       เกี่ยวพันแล้วยังน้อง 
ญ. น้องหากปลอดอ้อยซ้อย    เสมออ้อยกลางกอ
     กาบกะบ่ห่อ                      หน่อน้อยกะบ่ซอน
     ปลอดอ้อยซ้อย                  คือดังตองตัด
     แต่ผัดเป็นตองมา               หลดบ่มีชายต้อง          ดอกอ้าย

 
4. ผญาเบ็ตเตล็ด ผญาชนิดนี้เอาเนื้อหาสาระและสัมผัสที่แน่นอนไม่ได้ ส่วน
มากจะพูดคุยเพื่อความสนุกสนาน  หรือสร้างความคุ้นเคย หรือพูดคุยในวง
ที่รู้จักมักคุ้นกันดีแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการแผลงไปจากผญาอื่นๆ ที่กล่าวมา
ญ. อ้ายอย่าตี๋แถลงเว้า     เอาเลามาปลูก
     บ่แมนเชื้อชาติอ้อย    กินได้กะบ่หวาน
ช. บ่แมนตี๋แถลงล้ม       ตมบ่มีคะลาดมื่น 
    อ้ายบ่คาดคาดล้ม        เดือนห้าก่อนฝน